slot88

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ)

  โพสต์เมื่อ: วันอังคาร 20 มกราคม 2015 (เข้าดู 1,388 views)
131 Views

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) นิยมทำกันทั่วไปในภาคใต้ ในช่วงเดือน 11 (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) การลากพระมีอยู่ 2 ลักษณะตามความเหมาะสมของภูมิประเทศ คือ ลากพระทางบกและลากพระทางน้ำ แม้ว่าแต่ละจังหวัดของทางภาคใต้ได้มีการจัดงานประเพณีลากพระในช่วงเดียวกัน แต่รูปแบบและลักษณะการจัดอาจมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัด

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 179068826]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 179068826]

เรียบเรียงข้อมูลโดย อะเมสซิ่งไทยทัวร์
ข้อมูลอ้างอิง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สนับสนุนภาพโดย digicontents, Suphatthra China, Settawat Udom Shutterstock.com

จังหวัดพัทลุง เป็นการลากพระทางบก ซึ่งจะมีการตีโพน (กลอง) เพื่อควบคุมจังหวะในการลากพระ ขบวนพระลากของแต่ละวัดก็จะมีผู้ตีโพนอยู่บนขบวนและเมื่อผ่านวัดต่างๆ ก็จะมีการตีโพน ท้าทายกัน ทำให้มีการแข่งขันตีโพนเกิดขึ้น และทางจังหวัดพัทลุงก็ได้จัดให้มีการแข่งขันตีโพนขึ้นเป็นประจำทุกปี ในเทศกาลลากพระเดือน 11

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID201437735]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 201437735]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 223841056]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 223841056]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 181705655]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 181705655]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 177708611]

งานประเพณีลากพระ (ชักพระ) [Shutterstock ID 177708611]

จังหวัดสุราษฏร์ธานี แต่ละวัดจะทำบุษบกหรือพนมพระ ตกแต่งอย่างสวยงาม ตรงกลางบุษบกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ตามคติทางพุทธศาสนาแล้วให้ประชาชนลากไป เมื่อเสร็จพิธีลากพระ (ทั้งบนบกและในน้ำ) จะนำพรไปทำความสะอาดแล้วมีพิธีสงฆ์สมโภชพระลากในตอนค่ำ โดยจะมีพระสงฆ์ มาเทศน์เกี่ยวกับการเสด็จของพระพุทธเจ้าจากดาวดึงส์ลงสู่โลกมนุษย์

จังหวัดนครศรีธรรมราช อิทธิพลของวัฒนกรรมอินเดียได้กระจายสู่แนวคิดของชาวนครฯ สือต่อกันมา ถือว่าเป็ฯการแสดงความยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ จึงอัญเชิญชึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนเหตุผลที่แท้จริงของชาวนครฯ ในการปฏิบัติคือเป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ของวัดออกแห่แหน หลังจากอยู่ในพรรษานานแล้ว เพื่อเป็นการผ่อนคลายความจำเจและประกวดประชัน ความเลื่อมใสศรัทธากัน มีทั้งทางบก ซึ่งเรียกว่า “ลากพระบก” และทางน้ำ เรียกว่า “ลากพระน้ำ” จะทำกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยก่อนหน้านั้นประมาณ 7 วัน จะมีการตีกลอง รัวกรับ เรียกว่า “คุมพระ” และตกแต่งทำบุษบกสำหรับประดิษฐานพระรูปปางอุ้มบาตร (พระลาก) การลากพระนิยมทำกันในวันออกพรรษาเพียงวันเดียว โดยลากออกจากวัดตอนเช้าและกลับวัดตอนเย็น

แสดงความคิดเห็น:

บทความล่าสุด
5 อันดับที่เที่ยว ยอดนิยม